8 ข้อดีที่คนใช้นาฬิกาออกกำลังกายใส่แล้วแฮปปี้
มีของดีๆต้องแชร์กับคุณสมบัตินาฬิกาออกกำลังกายที่ผู้ใช้งานจริงได้สัมผัสการใช้งานกับ 8 ข้อที่ช่วยเพิ่มแรงจูงใจและสร้างเป้าหมายใหม่ๆให้ผู้ใช้งานได้จริง ทาง TSMactive ได้นำมาสรุปวิธีใช้งานให้ผู้ที่เริ่มต้นศึกษาได้เข้าใจอย่างง่าย..ไปชมกันเลยดีกว่า
1. รู้ถึงความหนักเบาของกีฬาที่ออกกำลังกาย
(ตัวอย่าง : TomTom Spark 3 Cardio ที่ใช้แบ่งโซนออกกำลังกายเป็นชื่อให้ผู้ใช้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ)
จะดีไหม ? ถ้าเราได้รู้ว่าแรงที่ทุ่มเทไปกับออกกำลังกายเหมาะกับสมตามเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน
นาฬิกาออกกำลังกายจึงใช้หลักการแบ่งโซนชีพจรออกมาเป็น 5 โซนเพื่อให้ผู้สวมใส่ได้เข้าใจว่าตนเองกำลังกายออกกำลังกายหนักหรือเบาเกินไปเพื่อนำไปปรับแก้ให้เหมาะสมกับเป้าหมายได้ทันที
(ตัวอย่าง : Garmin Forerunner 935 ที่ใช้ค่า VO2MAX จากการออกกำลังกายนำมาประเมิณการวิ่งล่วงหน้า)
2. รู้แคลอรี่ที่ใช้เผาผาญในชีวิตประจำวัน
(ตัวอย่าง : Fitbit Charge 2 ที่ใช้หน้าปัดเป็นการติดตามแคลอรี่)
ใน 1 วันที่ทำกิจกรรม เช่น เดินไปซื้อของ , ขึ้นบันไดไปประชุม กิจกรรมเหล่านั้นคือการเผาผาญแคลอนี่ระหว่างวัน แต่ถ้ามานั่งนับเองอาจจะลืมและไม่แม่นยำ สายรัดข้อมือฟิตเนสหรือนาฬิกาออกกำลังกายจึงเข้ามามีบทบาทที่จะทำให้การติดตามแคลอรี่ระหว่างเป็นเรื่องง่ายๆ
(ตัวอย่าง : TomTom Spark 3 Cardio สังเกตุดีๆในวงล้อมของแคลอรี่คือเป้าหมาย ถ้าเราเผาผาญแคลอรี่ได้ จุดในวงล้อมจะหายไป)
3. เก็บสิถิตเส้นทางที่ใช้ไปในขณะออกกำลังกาย
(ตัวอย่าง : Garmin Forerunner 935 เมื่อใช้ GPS ในการบันทึกเส้นทางกลางแจ้ง ผู้สวมใส่จะเห็นเส้นทางการออกกำลังกายขณะใช้งานและดูย้อนหลัง)
ข้อดีของนาฬิกาออกกำลังกาย GPS จะสามารถบันทึกเส้นทางที่ออกกำลังกายไปนำมาดูย้อนหลังได้ทุกเมื่อ และที่เด็ดไปกว่านั้นสามารถตั้งโปรแกรมเส้นทางก่อนออกกำลังกายได้อีก ป้องกันการหลงทางและวิ่งตามโปรแกรมจนที่เส้นชัย
4. ระบบแจ้งเตือนเหมือนมีโค้ชอยู่ใกล้ๆ
(ตัวอย่าง : Garmin Forerunner 35 ที่ตั้งการแจ้งเตือนโซนชีพจร เมื่อออกกำลังกายที่หัวใจเต้นสูงเกินไปจากที่ตั้งค่าไว้)
นั่งทำงานหน้าคอมทั้งวันไม่มีใครมาเตือนให้ลุกไปยืดเส้นยืดสาย แต่นาฬิกาออกกำลังกายสามารถแจ้งเตือนให้คุณลุกไปขยับหลังจากที่นั่งทำงานเป็นเวลานานๆ
5. ดูผลการออกกำลังกายย้อนหลังได้ทันที โดยไม่ต้องจด
(ตัวอย่าง : Suunto Spartan Sport Wrist HR ที่แบ่งปริมาณการออกกำลังกายเป็นกราฟแท่งให้เห็นภาพว่าผู้สวมใส่ออกกำลังกายชนิดได้มากหรือน้อยจนเกินไป รวมทั้งสรุปเวลาทั้งหมดที่ใช้ไป)
หลังจากที่ออกกำลังกายมาเหนื่อยๆสิ่งที่แรกที่จะทำคือการนั่งพักฟื้นเพื่อคูลดาวน์ แต่ถ้ามาให้นั่งย้อนสรุปถึงการออกกำลังกายที่เพิ่งเหนื่อยๆมาคงไม่ปลื้มแน่ๆ แต่ถ้าใส่นาฬิกาออกกำลังกายเพียงแค่เข้าโหมดออกกำลังกายกด Start และเมื่อเสร็จสิ้นการออกกำลังกายเพียงแต่กด Stop ข้อมูลการออกกำลังกายทุกอย่างจะนำมาสรุปทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ระยะทาง , เวลา , ค่าเฉลี่ยของชีพจร และแคลอรี่ที่เสียไปขณะออกกำลังกาย บอกได้คำเดียวว่าคุ้มกับออกแรงเหนื่อยไป
6. ใส่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แม้นอนหลับยังใส่ได้
(ตัวอย่าง : Fitbit Charge 2 ที่ในชีวิตประจำวันทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ แต่ตัวนาฬิกายังทำงานติดตามร่างกายตลอดเวลาจนไปการติดตามการนอนหลับอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องตั้งค่า)
(ตัวอย่าง : Garmin Forerunner 935 ที่เปลี่ยนใช้สายหนังของ QuickFit 22 mm ดูหล่อเข็มไปอีกแบบ)
7. เช็คสุขภาพได้จริง ไม่ต้องคาดเดาจากความรู้สึก
(ตัวอย่าง : Suunto Spartan Sport Wrist HR ที่แสดงกราฟชีพจรย้อนหลัง 10 นาที่อย่างละเอียด พร้อมคำนวณการเผาผาญต่อชั่วโมงให้ทราบ)
(ตัวอย่าง : Garmin Fenix 5X ในขณะออกกำลังกายจะแสดงตัวเลขของชีพจรให้เห็นที่ชัดเจนเพื่อดูผลได้ต่อเนื่อง)
8. ตั้งเป้าหมายใหม่ๆ เพิ่มแรงจูงใจให้กับการออกกำลังกาย
(ตัวอย่าง : Garmin Forerunner 935 ที่ใช้โหมดการกำหนดเป้าหมายเข้ามาร่วมกับการออกกำลังกาย จะแสดงระยะทางที่เหลือ และ ประเมินเวลาจบที่จะถึงเส้นชัย)
(ตัวอย่าง : Suunto Spartan Ultra All Black Titanium ที่ตั้งเป้าหมายของแคลอรี่ไว้ )
นาฬิกาออกกำลังกายถือว่ามีบทบาทสูงที่ช่วยสร้างแรงจูงใจใหม่ๆได้เสมอ ซึ่งผู้สวมใส่สามารถตั้งเป้าหมายได้ด้วยตนเองพร้อมพิชิตเป้าหมายเหล่านั้นได้จริงๆ ดีกว่าการกำหนดเป้าหมายและเก็บไว้ด้วยตนเองและลืมไป
สรุป
ทั้ง 8 ข้อที่ผ่านมาเป็นข้อดีที่ผู้ใช้งานนาฬิกาออกกำลังกายพูดถึงเป็นส่วนใหญ่และได้ใช้งานจริงๆกับกิจกรรมและกีฬา ทาง TSMactive จึงได้นำมารวบรวมสำหรับที่ผู้สนใจหรือกำลังศึกษาหลักการใช้งานเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซึ่งนาฬิกาออกกำลังกายแบ่งออกเป็นหลากหลายรุ่นและมีหลายแบรนด์ ตั้งแต่ใช้งานในชีวิตประจำวันจนไปถึงนาฬิกาที่ใช้งานในด้านการกีฬาแล้วจัดเต็ม ถ้ามีข้อสงสัยในการเลือกใช้งานให้ตรงกับกิจกรรมสามารถสอบได้กับทางทีมงาน TSM ได้โดยทางเรายินดีให้คำปรีกษาพร้อมดูแลการใช้งานจนกว่าใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ