วัดชีพจรอะไรแม่นกว่า: สายคาดหน้าอก หรือ นาฬิกา ?

ทุกวันนี้มีอุปกรณ์วัดชีพจร นาฬิกาวัดชีพจรเปิดตัวออกใหม่มาอย่างต่อเนื่อง บางครั้งซื้อรุ่นนี้ไป อีกไม่นานก็ตกรุ่นซะแล้ว ความสามารถนาฬิกาและอุปกรณ์วัดชีพจรเหล่านี้ นับวันยิ่งมีลูกเล่นและทำอะไรได้มากขึ้น แต่ความสามารถหลักๆแล้วก็คือการ "วัดชีพจร หรือ วัดฮาร์ทเรต" นั่นเอง บทความนี้ TSMACTIVE ได้นำอุปกรณ์วัดชีพจร 3 ตัวอย่างมาทดสอบให้เห็นอย่างชัดเจน ในการออกกำลังกายแบบ Basic สลับกับการหยุดออกกำลังกายทันที เพื่อให้ระดับชีพจรลดลงอย่างฉับพลัน และสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างและการตอบสนองได้ในทันที

 

3 อุปกรณ์ที่นำมาทดสอบได้แก่

Polar H7 : สายคาดอกวัดระดับชีพจรที่รองการเชื่อมต่อ Bluetooth อย่างเดียวเท่านั้น ทำให้ Polar H7 ยังรองรับได้กับสมาร์ทโฟนและนาฬิกาบางรุ่นเท่านั้น

 

TSMACTIVE Heart rate monitor (HRM) : สายคาดอกวัดระดับชีพจรที่รองรับการเชื่อมต่อได้ทั้ง 2 ระบบ อย่าง ANT+ และ Bluetooth ซึ่งเป็นข้อดีที่อำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อที่ครอบคลุม

 

Suunto Spartan Trainer Wrist HR : นาฬิกาออกกำลังกายที่มีเซนเซอร์วัดระดับชีพจรผ่านข้อมือ สำหรับการใช้งานอเนกประสงค์ด้านการออกกำลังกาย

 

กราฟการเต้นของหัวใจจาก สายคาดหน้าอก Polar H7 

Polar H7 เรียกได้ว่าเป็น สายคาดหน้าอกวัดชีพจรที่มีความแม่นยำสูง เชื่อถือได้ และได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานจากทั่วโลก ทำให้ตอบโจทย์สำหรับนักกีฬา Athlete และคนที่ออกกำลังกายแบบ Cardio เป็นหลัก เพราะการวัดชีพจรตอบสนองในแบบ Real-time ไม่มีการดีเลย์ กราฟฮาร์ทเรตที่ออกมา ถือว่าตรงกับแอคทิวิตี้ขณะออกกำลังกาย ไม่มีผิดเพี้ยนแต่อย่างใด


 

กราฟการเต้นของหัวใจจาก สายคาดหน้าอก TSMACTIVE HRM

 สายคาดหน้าอก TSMACTIVE HRM เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ Polar H7 รูปร่างกราฟการเต้นหัวใจ นับว่าคล้ายกันมาก แทบจะเปรียบเทียบกันไม่ได้เลย แต่เมื่อลองซูมเข้าไปดูเพื่อเทียบกันแล้ว พบว่ามีการดีเลย์สลับกันในระดับเสี้ยววินาที แต่อย่างไรก็ตาม สายคาดหน้าอกทั้ง 2 ตัวนี้ มีกราฟชีพจรไปในทางเดียวกัน ซึ่งสามารถนำไปอ้างอิงระดับชีพจรในปัจจุบันได้อย่างไม่มีข้อสงสัย


 

กราฟการเต้นของหัวใจจาก นาฬิกา Suunto Spartan Trainer Wrist HR

   นาฬิกา Suunto Trainer ใช้เทคโนโลยีการวัดชีพจรแบบ Wrist based-HR ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พบได้มากที่สุดและทำให้วงการการออกกำลังกาย นักวิ่ง หรือ นักปั่นจักรยาน หันมาสนใจกันมาก เนื่องจากไม่ต้องใช้สายคาดหน้าอกที่เป็นเทคโนโลยีการวัดชีพจรแบบดั้งเดิม ทำให้ง่าย สะดวกสบาย และมีความสวยงามเกิดขึ้น

 

กราฟในช่วงแรกยังไม่คงที่และผิดเพี้ยนไปมาก เนื่องจากเซ็นเซอร์ของนาฬิกาใช้เวลาค้นหาระดับชีพจรภายใต้ผิวหนังสักพักนึง เมื่อค้นพบแล้ว ระดับชีพจรก็เป็นไปในทางเดียวกับสายคาดหน้าอกวัดชีพจร แต่ยังคงมีความกระโดดอยู่บ้าง ซึ่งโดยรวมแล้ว นาฬิกา Suunto Trainer ตัวนี้ที่ใช้เทคโนโลยีวัดชีพจรจาก Valencell ทำให้ค่าที่ได้ออกมาเชื่อถือได้สูงมากเมื่อเทียบกับ นาฬิกาวัดชีพจรแบบ Wrist based-HR รุ่นอื่นๆในขณะนี้ แต่อาจยังไม่มีการตอบสนองในแบบทันทีทันใด เมื่อเทียบกับสายคาดหน้าอกวัดชีพจร สาเหตุของความไม่แม่นยำของ Wrist based-HR ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ

  • การเคลื่อนที่ของข้อมือ ทำให้เซ็นเซอร์วัดชีพจรเคลื่อนที่ไปด้วย
  • การใส่นาฬิกาที่แน่นเกินไป หรือ หลวมเกินไป
  • สีของผิวหนังทำให้ค่า LED อ่านได้ยาก แต่ Suunto Trainer ได้เพิ่ม LED สีเหลืองเพื่อปรับสีผิวให้อ่านค่าได้ง่าย
  • เทคโนโลยีการวัดชีพจรต่างกัน ผลที่ได้รับก็แตกต่างกัน

 

บทสรุป

มีหลายๆคำถามของ แฟนเพจ TSMACTIVE ถามไว้ว่า "ตัวไหนวัดชีพจร/ฮาร์ทเรต แม่นยำสุด?" จากผลทดสอบ ณ เวลาในเทคโนโลยีการวัดชีพจรแบบ Wrist Based-HR ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและใหม่ล่าสุดขณะนี้ คำตอบของเราก็ยังบอกแฟนเพจของเราเหมือนเดิมว่า "สายคาดหน้าอกวัดชีพจร ครับ" สำหรับคนที่ต้องการออกกำลังกายแบบ Cardio, Interval, ไม่ว่าจะนำไปใส่วิ่ง ฟิตเนส ฯลฯ การใช้นาฬิกาวัดชีพจรแบบ Wrist based-HR นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดี ไม่รู้สึกอึดอัด และมีลูกเล่นหลากหลาย รวมถึงสามารถใส่เป็นแฟชั่นได้อีกด้วย การออกแบบของนาฬิกาออกกำลังกายปัจจุบันนี้พัฒนามากกว่าแต่ก่อนค่อนข้างมาก นอกจากใส่นาฬิกาแล้วดูดี ยังดูมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับคนที่ต้องการความแม่นยำการวัดชีพจรในระดับสูง อาทิ นักกีฬาแบบ Athlete, ผู้สูงอายุ รวมไปถึง คนที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายที่ต้องการอุปกรณ์วัดชีพจรแบบง่ายๆ ราคาไม่สูง สายคาดหน้าอกวัดชีพจรยังเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบันอยู่เช่นเคย