ไม่ว่าจะเป็นช่วงไหนของปีในเมืองไทย คงหลีกเลี่ยงไม่พ้นกับสภาพอากาศ หรือการหาเวลาว่างออกไปปั่นจักรยานนอกบ้าน อีกทั้งในเรื่องความปลอดภัยต่อสภาพการจราจรในกรณีที่ออกไปปั่นตามท้องถนน หรือในตรอกซอกซอยก็ตาม ดังนั้นการมองหาจักรยานมาฝึกซ้อมปั่นในร่มถือเป็นเรื่องที่ปลอดภัย และหาโอกาสใช้งานได้ทุกเมื่อ แต่จะเลือกใช้งานจักรยานในร่มแบบไหนดี

 

สปินไบค์

จักรยานออกกำลังกายในร่มจริงๆแล้วมีให้เลือกใช้งานหลากหลายประเภท แต่มีจักรยานชนิดนึงที่นิยมใช้งานกันในคลาสฟิตเนส โดยได้จำลองกลไล รวมถึงดีไซน์ให้สอดคล้องเหมือนจักรยานคันจริงๆ นั้นก็คือ สปินไบค์ (Spin Bike) ที่เน้นความโฉบเฉี่ยว รองรับการปั่นได้อย่างอิสระ อย่างเช่น การปั่นขึ้นเขา และฝึกซ้อมรอบขา เรียกได้ว่าออกแบบมาเพื่อให้ประสบการณ์การปั่นจักรยานเหมือนการขี่จักรยานกลางแจ้ง

 

เทคนิคการเลือกชื้อจักรยานสปินไบค์ Spin Bike มีอะไรบ้าง ?

 

1. น้ำหนักล้อ (Flywheel Weight)

สำหรับ Flywheel เป็นตัวขับเคลื่อนล้อเมื่อมีการออกแรงปั่น แนะนำให้ดูน้ำหนักของ Flywheel เป็นตัวเลือกแรกๆในการเลือกชื้อสปินไบค์ ยิ่งมีน้ำหนักมากการปั่นจะมีความราบรื่นขึ้น และสามารถสร้างแรงต้านทานได้มหาศาล อย่างเช่น การปั่นขึ้นเข้า หรือการปั่นแบบหนืดเพื่อเพิ่มกำลังขา เมื่อต้องการเลือกชื้อสปินไบค์นำมาปั่นเพื่อสุขภาพ ฝึกซ้อม แนะนำให้มองหาน้ำหนักของ Flywheel จะอยู่ที่ 14 กิโลกรัมขึ้นไป โดยตำแหน่งการวาง Flywheel ในจักรยานสปินไบค์จะขึ้นอยู่กับการออกแบบของแบรนด์นั้นๆ แต่ถ้าต้องการความสมจริงขอแนะนำให้เลือกสปินไบค์ที่มีการวาง Flywheel ในตำแหน่งท้ายของจักรยานเพื่อการลงน้ำหนักการปั่นที่ใกล้เคียงกับจักรยานคันจริงๆ

 

2. โครงสร้าง (Frame)

ข้อนี้เชื่อว่าหลายๆท่านอาจจะมองข้ามไป โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของโครงสร้าง แต่ไปเน้นที่ตัวราคามากกว่า ซึ่งก็แน่นอนว่าเมื่อมีการลดต้นทุนของราคาลงไป ทำให้ต้องเลือกใช้วัสดุที่คุณภาพด้อยลง แต่อย่าลืมว่าโครงสร้างเป็นจุดที่ทำให้สปินไบค์มีความคุ้มค่าที่สุด ด้วยอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และตัดปัญหาจุกจิกของการเสื่อมสภาพของวัสดุ

 

ข้อดีของการคำนึงถึงโครงสร้าง

  • ไม่โยกเยก มั่นคงแข็งแรง
  • ไม่เสื่อมสภาพ รับน้ำหนักได้เต็มที่
  • ฝึกซ้อมได้จริงจัง รับการทรงตัวได้ดีที่สุด
  • อายุการใช้งานยาวนาน
  • บำรุงรักษาน้อย

 

3. ระบบขับเคลื่อน (Drive System)

ปกติแล้วสปินไบค์จะมีให้เลือกระบบขับเคลื่อน โดยหลักๆแล้วจะมีอยู่ 2 รูปแบบ

  • รูปแบบโซ่ : ซึ่งจะอยู่ในสปินไบค์รุ่นเก่าๆ หรือรุ่นที่ไม่ได้เน้นถึงคุณภาพ โดยจะใช้โซ่จักรยานจึงทำให้มีเสียงดังรบกวนขณะใช้งาน และมีน้ำหนักที่ค่อนข้างเยอะ
  • รูปแบบสายพาน : พบได้ในสปินไบค์รุ่นใหม่ และรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีข้อดีทำให้การปั่นราบรื่นขึ้น และเงียบไม่มีเสียงรบกวน ไม่ต้องค่อยบำรุงรักษา อีกทั้งมีน้ำหนักที่เบากว่า 

 

ดังนั้นถ้ากำลังมองหาสปินไบค์มาใช้งาน แนะนำให้เลือกระบบขับเคลื่อน "รูปแบบสายพาน" เพื่อทำให้ได้รับประสบการณ์การปั่นที่ประทับใจ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สนุกกับการปั่นได้ทุกเมื่อ

 

4. ระบบเแรงต้าน (Resistance System)

จริงๆแล้วระบบเแรงต้านมีให้เลือกใช้มากมาย อย่างเช่น ระบบอิเล็กทรอนิกส์, ระบบเคเบิ้ล แต่ระบบเหล่านั้นจะไม่ได้มอบความสมจริงเท่าที่ควรนัก ต่อมาจึงไม่ได้รับความนิยม แต่ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่เข้ามาทดแทนระบบแรงต้านเดิม นั้นก็คือ "ระบบแม่เหล็ก (Magnatic)" ที่มอบความสมจริงได้ดีที่สุด โดยสร้างแรงแรงต้านได้อย่างอิสระจากการดูดข้อเหล็ก และไม่ก่อให้เกิดการเสียหายเมื่อมีการใช้งานแบบหนักหน่วง 

จึงขอแนะนำให้เลือก "ระบบแม่เหล็ก (Magnatic)" ข้อดีสามารถใช้งานได้หนักตามได้ละเอียดตามที่ต้องการ และไม่เกิดการเสียดสีทำให้มีความทนทานของการใช้งานยาวนาน

 

5. ปรับตำแหน่ง (Adjustability)

อีกหนึ่งข้อที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะอย่าลืมว่าสปินไบค์ทุกคันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อสรีระทุกคน ดังนั้นการมองหาสปินไบค์ต้องเลือกรุ่นที่สามารถปรับตำแหน่งได้ ยิ่งปรับได้ระดับยิ่งดี เพื่อทำให้ได้ตำแหน่งการใช้งานที่เหมาะสมกับสรีระมากที่สุด อีกทั้งช่วยลดอาการบาดเจ็บจากท่าทางการปั่นที่ไม่ถูกต้อง

ตำแหน่งของสปินไบค์ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้

  • ความสูงเบาะรองนั่ง
  • ตำแหน่งเบาะรองนั่ง
  • ความสูงแฮนด์จับ
  • ตำแหน่งเแฮนด์จับ

ในวงการจักรยานจะนิยม Fitting เพื่อปรับจักรยานที่เข้าหาสรีระร่างกายให้มากที่สุด เพื่อรีดประสิทธิภาพของการปั่น รวมไปถึงท่วงท่าที่ถูกต้อง

 

6. หน้าจอแสดงผล (Display Screen)

แนะนำสปินไบค์ที่มาพร้อมหน้าจอแสดงที่ให้ข้อมูลแบบ Real Time จากการปั่นจริงๆ เพื่อทำให้เห็นเป้าหมาย และความเข้มข้น อย่างเช่น การแสดง ระยะทาง, แคลอรี่, ความเร็ว และเวลา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของสปินไบค์ทั่วไปๆ

หน้าจอแสดงผล (คุณภาพสูง) มีอะไรเพิ่มบ้าง

  • เชื่อมต่อแอพออกกำลังกาย เช่น Zwift app จากหน้าจอแสดงผล  เพื่อเข้าร่วมปั่นกับคนทั้งโลกในสนามออนไลน์ โดยออกแรงปั่นจริงๆและนำไปแสดงผลในแอพ
  • แสดงข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจที่แม่นยำ (เชื่อมต่อจากสายคาดอกวัดชีพจร) อุปกรณ์ภายนอกด้วยระบบบลูทูธ
  • โหมดการฝึกซ้อม และโปรแกรมเป้าหมาย แสดงผลปรับเปลี่ยนตามที่เลือกใช้งาน หรือการตั้งค่าอิสระ

 

7. แท่นเหยียบ (Bike Pedals)

สำหรับมือใหม่แนะนำให้เลือกสปินไบค์ที่มีแท่นเหยียบมาพร้อมสายรัดเท้า เพื่อเสริมความมั่นคงต่อการออกแรงปั่น และไม่ทำให้เท้าหลุดออกจากแท่นเหยียบเมื่อมีการทำความเร็วสูง

 

สรุป

เทคนิคการเลือกชื้อจักรยานสปินไบค์ Spin Bike นี้เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่กำลังสนใจหันมาออกกำลังกายในรูปแบบจักรยาน จึงขอแนะนำให้ควรนำทั้ง 7 ข้อนี้ไปพิจารณา เพื่อเลือกชื้อสปินไบค์ที่มีคุณภาพ และใช้งานได้อย่างคุ้มค่ายาวนานที่สุด อีกทั้งยังเพิ่มแรงจูงใจในการปั่นด้วยคุณภาพของตัวเครื่องที่ทำให้การปั่นสนุกและท้าทายอยู่ตลอดเวลา