ข้อมูลการนอนหลับไม่ขึ้นใน Garmin Connect app ควรทำอย่างไร ?
การติดตามการนอนหลับเป็นอีกหนึ่งฟังก์ชั่นที่ใครๆหลายคนได้ใช้งานกันอยู่ๆทุกคืน ด้วยการใช้งานง่ายและติดตามอัตโนมัติ เพียงสวมใส่สมาร์ทวอทช์ไว้บนข้อมือขณะนอนหลับ แต่บางครั้งข้อมูลการนอนหลับไม่ขึ้น ซึ่งก็มีหลายปัจจัยสาเหตุที่ทำให้ข้อมูลการติดตามนอนหลับไม่ขึ้น มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้างที่ช่วยทำให้ข้อมูลการนอนกลับมาขึ้นปกติกันบ้าง
1. เช็คการซิงค์ระหว่างนาฬิกา Garmin กับ Garmin Connect app
สิ่งแรกที่เราควรเช็คก็คือการซิงค์ระหว่างนาฬิกา Garmin กับ Garmin Connect app เพราะในระหว่างวันที่เราใช้งานอยู่ การเชื่อมต่อระหว่างนาฬิกากับแอพพลิเคชั่นอาจจะหลุดก็ได้ และทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้นั้นเอง ดังนั้นควรตรวจเสร็จสถานะการเชื่อมต่ออยู่เสมอ แนะนำให้ซิงค์กับแอพพลิเคชั่นอย่างน้อยวันล่ะ 1 ครั้ง เพื่อการเก็บสถิติข้อมูลที่ประสิทธิภาพ และควรอัพเดทเฟิร์มแวร์ของนาฬิกา กับแอพพลิเคชั่นอยู่เสมอ
2. ควรใส่นาฬิกาไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ข้อนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่หลายๆคนอาจจะไม่ทราบ เราควรสวมใส่นาฬิกาให้พอดีต่อกับข้อมืออย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน และต้องเปิดการใช้งานเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นหัวใจควบคู่ไปด้วย หากปิดการใช้งานเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นหัวใจส่งผลให้การติดตามสถิติการนอนหลับไม่มีประสิทธิภาพ และไม่ได้ผลข้อมูลการนอน
3. ตั้งค่าช่วงเวลานอนและตื่น
หลังจากที่เราได้ทำตาม 2 ขั้นแรกแล้ว แนะนำเข้าในแอพพลิเคชั่น Garmin Connect app เพื่อตั้งค่าช่วงเวลาที่เรานอนและเวลาที่เราตื่น
เปิดแอป Garmin Connect จากโทรศัพท์ของคุณ
-
Android : เลือก (มุมบนซ้าย)
- iOS : เลือกเพิ่มเติม (มุมล่างขวา)
- เลือกการตั้งค่า
- เลือกการตั้งค่าผู้ใช้
- เลือกเวลานอนหรือเวลาตื่น
- ป้อนเวลาแล้วแตะตกลง
- ออกจากเมนูการตั้งค่า
4. ปิดโหมดประหยัดพลังงาน
ต่อมาก็จะเป็นการปิดโหมดประหยัดพลังงานบนนาฬิกา (ในเมนู จัดการพลังงาน) การปิดโหมดนี้จะทำให้ฟังก์ชั่นการติดตามการนอนหลับทำงานมีประสิทธิภาพ เนื่องจากนาฬิกาจะติดตามผลการนอนหลับได้เต็มประสิทธิภาพ และควรมีแบตเตอรี่อย่างน้อย 40% ขึ้นไป
5. ไม่สามารถวัดการนอนหลับขั้นสูงได้
กรณีที่ไม่สามารถวัดการนอนหลับขั้นสูงได้ (Advanced Sleep Monitoring) แนะนำให้เปิดการติดตาม Pulse Ox บนนาฬิการุ่นที่รองรับ ให้ติดตามตลอดทั้งวัน บางครั้งนาฬิกาจะถูกปิดฟังก์ชั่นี้ไว้ เพื่อประหยัดพลังงานแบตเตอรี่
สรุป
การติดตามการนอนหลับด้วยสมาร์ทวอทช์ ข้อมูลส่วนใหญ่จะมาจากเซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นหัวใจแบบออปติคัล ดังนั้นการสวมใส่ที่หลวมเกินไป หรือเซ็นเซอร์ใต้ตัวเรือนไม่ได้สัมผัสกับผิวหนังแบบต่อเนื่องขณะนอนหลับ จะทำให้ไม่สามารถวัดสถิติการนอนได้ จึงขอแนะนำให้ตรวจเช็คการเชื่อมต่อระหว่างสมาร์ทวอทช์กับแอพพลิเคชั่น และเช็คการสวมใส่ว่าอยู่ในตำแหน่งที่เซ็นเซอร์สามารถอยู่บนผิวหนังได้ต่อเนื่องหรือไม่ โดยทดลองสวมใส่ใหม่อีกครั้งในคืนต่อไปเพื่อรับผลการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพ