แนะนำวิธีทำความสะอาดนาฬิกา ถ้านาฬิกาเปียกน้ำ
เนื่องจากนาฬิกาออกกำลังกายที่ผ่านการใช้งานจากการสวมใส่ในกิจกรรมว่ายน้ำ, อาบน้ำ หรือ การใช้งานในชีวิตประจำวัน จะมีคราบเหงื่อสะสมอยู่ที่นาฬิกาทั้งใน สายนาฬิกา และ ตัวเรือน ซึ่งเป็นสาเหตุที่จะเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ โดยเฉพาะข้อต่อตัวเรือน หรือ ข้อต่อของสายนาฬิกาก็ตาม ดังนั้น หลังจากการใช้งานควรทำความสะอาดทุกครั้ง ด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานของนาฬิกาให้นานยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทีเอสเอ็มขอแนะนำวิธีทำความสะอาดนาฬิกาออกกำลังกายอย่างง่ายๆในไม่กี่ขั้นตอน
1 . เมื่อนาฬิาเปียกน้ำ
จริงๆแล้วนาฬิกาออกกำลังกายรุ่นที่รองรับการกันน้ำ สามารถทนทานต่อน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็น การอาบน้ำ, ว่ายน้ำ หรือ เล่นน้ำสงการนต์ แต่เมื่อหลังจากการสวมใส่ในกิจกรรมนั้นๆแล้ว ควรทำความสะอาดเพื่อขจัดคาบสิ่งสกปรกที่มากับเหงื่อ หรือ ฝุ่นละออง เพื่อยืดอายุตัวเรือน และ สายนาฬิกา เพื่อให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานอยู่สม่ำเสมอ
2 . ทำความสะอาดรอบตัวเรือน
- กรณีสายหนัง ให้ถอดสายออกก่อนทำวความสะอาด หรือ ใช้ผ้านุ่ม ชุบน้ำหมดๆ แล้วเช็ดทำความสะอาด
- กรณีที่เป็นสายซิลิโคน สามารถล้างทำความสะอาดได้ทั้งตัวเรือน และ สาย
หลังจากใช้นาฬิกาออกกำลังกายทำกิจกรรมที่เปียกน้ำมาแล้ว ควรถอดนาฬิกาออกมาทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด (นาฬิการุ่นนั้นๆต้องรองรับมาตรฐานการกันน้ำ) เพื่อขจัดคราบต่างๆออกไป โดยใช้นิ้วมือค่อยๆ ถูออกเบาๆ หรือ ใช้แชมพูอ่อนๆ โดยอาจใช้แปรงสีฟันช่วยขัดในบริเวณที่เป็นซอก หรือ ข้อต่อต่างๆ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
3 . เช็คนาฬิกาให้แห้ง
เมื่อทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดเสร็จเรียบร้อย ให้เตรียมผ้าที่สะอาด ซึ่งจะแนะนำให้เลือกใช้ผ้าอ่อนนุ่ม อย่างผ้าไมโครไฟเบอร์ เพื่อป้องกันการทิ้งรอยขนแมวที่จะเกิดขึ้นในขณะเช็คนาฬิกาออกกำลังกาย
- กรณีสายหนัง ใช้ผ้านุ่ม ชุบน้ำหมดๆ แล้วเช็ดทำความสะอาดบริเวณสาย
- กรณีที่เป็นสายซิลิโคน สามารถล้างทำความสะอาดด้วยน้ำได้
ควรเช็คทำความสะอาดทั้งตัวเรือน ไม่ว่าจะเป็น หน้าจอ, ใต้ตัวเรือน และ สาย ให้สะอาด โดยไม่ทิ้งคราบใดๆตกค้างไว้
4 . ปล่อยให้นาฬิกาแห้ง
หลังจากใช้ผ้าทำความสะอาดตัวเรือนเสร็จแล้ว ให้นำนาฬิกาพักไว้ในที่โปร่ง ประมาณ 10 - 20 นาที (ไม่ควรเก็บนาฬิกาไว้ในสถานที่ที่มีความชื้นสูง หรือ ความร้อนสูง) เมื่อจะนำนาฬิกามาสวมใส่ในขั้นต่อไป ควรตรวจเช็คอีกครั้งก่อนสวมใส่ ถ้านาฬิกาแห้งสนิทสามารถสวมใส่ได้ปกติ