สำหรับในประเทศไทย เครื่องวัดชีพจรยังเป็นเรื่องใหม่ของใครหลายๆคน บางคนอาจยังไม่รู้จักว่ามันคืออะไร แต่ต้องขอบอกว่าอุปกรณ์เหล่านี้นิยมใช้มากในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เหตุผลคือ ประเทศเหล่านี้ไม่มีมลภาวะทางอากาศ แม้ในเมืองหลวง รถจะเยอะเท่าไหร่ก็ตาม ผู้คนที่อยู่อาศัยในละแวกนั้น สามารถออกจากบ้านมาออกกำลังกายได้โดยไม่มีผลกระทบใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งรถทุกคันต้องเคารพสัญญานไฟจราจร เรียกได้ว่าผู้คนเดินถนนธรรมดานี่แหล่ะใหญ่ที่สุดบนถนน ต่างกันกับบ้านเราที่รถยนต์เป็นใหญ่ คนเดินเท้าต้องคอยระมัดระวังรถยนต์

การใช้เครื่องวัดชีพจรในประเทศไทยจึงนิยมใช้ใน Fitness center หรือนำไปใช้ออกกำลังกายในต่างจังหวัดที่อากาศดีๆ ไม่มีมลพิษทางอากาศ รวมไปถึงผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด 

ประวัติความเป็นมาของเครื่องวัดชีพจร

เครื่องวัดชีพจรเครื่องแรกนั้นยังไม่ได้อยู่ในรูปของนาฬิกา ผลิตขึ้นมาในปี 1977 จุดประสงค์เพื่อใช้ในการฝึกซ้อมทีมสกีในประเทศฟินแลนด์ ในลักษณะทดสอบระดับความเข้มข้นในการฝึก (intensity training) จากนั้นเป็นต้นมา การวัดชีพจรที่ใช้ในกีฬาจึงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 

 (เครื่องวัดชีพจรแบบใช้ปลายนิ้วมือ คิดค้นโดย University of Oulu Electronics Laboratory)

 

ในปี 1983 จึงเริ่มจำหน่ายในร้านค้าสำหรับผู้บริโภคทั่วไป และใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงในปัจจุบัน

ส่วนประกอบของเครื่องวัดชีพจร 

เครื่องวัดชีพจรรุ่นใหม่ๆ มักประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ได้แก่ 

  1. อุปกรณ์ส่งสัญญานชีพจร (Transmitter) ส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปติดหน้าอก คู่กับสายคาด
  2. ตัวรับสัญญาน (Receiver) ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของ นาฬิกา โทรศัพท์สมาร์ทโฟน

ในขณะที่ยุคก่อน สายคาดหน้าอกทำจากพลาสติกเพื่อง่ายต่อการนำสัญญานชีพจร แต่ในปัจจุบันได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นวัสดุที่ทำจากผ้า ติดด้วยตัวประมวลผลกลางเพื่อวิเคราะห์สัญญานชีพจรอีกที

การส่งสัญญานจาก Transmitter เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจจับการเต้นของหัวใจ สัญญานวิทยุจะถูกส่งออกไปและเปลี่ยนแปลงเป็นตัวเลขอัตราชีพจร สัญญานนี้อาจถูกส่งออกในรูปแบบธรรมดาทั่วไป หรือ อาจถูกเข้ารหัสให้ใช้ได้กับตัวรับที่ถูกกำหนดไว้เพียงอย่างเดียว (เข้ารหัสโดย Bluetooth, ANT) เพื่อให้สัญญานในแต่ละอุปกรณ์ไม่ถูกรบกวนแทรกแซงซึ่งกันและกัน 

ประเภทของเครื่องวัดชีพจร

 

นาฬิกาวัดชีพจรแบบไม่มีสายคาดหน้าอก – เพียงแค่ใช้นิ้วแตะตัวรับเซ็นเซอร์ที่ติดมากับนาฬิกา จากนั้นอัตราชีพจรจะขึ้นไปแสดงที่หน้าจอนาฬิกาโดยอัตโนมัติ เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ไม่บ่อย อย่างไรก็ตาม รายละเอียด ผลลัพธ์จะไม่ละเอียดเท่ากับนาฬิกาที่ใช้สายคาดหน้าอก 

 

นาฬิกาวัดชีพจรใช้สายคาดหน้าอก – หลากหลายแบรนด์ได้นำเสนอนาฬิกาประเภทนี้เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้ในการออกกำลังกายครอบคลุมถึงด้านสุขภาพ ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย สามารถนำค่าชีพจรมาวิเคราะห์ ในด้านต่างๆ บอกถึงจำนวนแคลอรี่ที่ใช้ แสดงอัตราเกี่ยวกับการหายใจของผู้ใช้ วัดความเร็ว วัดระยะทาง วัดความสูงชัน วัดอุณหภูมิ มี GPS ในตัว ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่นาฬิกาที่มีคุณสมบัติยิ่งมากยิ่งมีราคาสูง บางรุ่นออกแบบมาสำหรับกีฬานั้นๆโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น วิ่ง ปั่นจักรยาน ฟิตเนส ยกน้ำหนัก ว่ายน้ำ ปีนเขา สกี และอีกมากมาย

นาฬิกาวัดชีพจรแบบรัดข้อมือ – ปัจจุบันได้มีบางบริษัทคิดค้นนาฬิกาวัดชีพจรโดยอ่านค่าจากชีพจรบริเวณข้อมือ ทำให้สะดวกต่อผู้ใช้บางคนที่ไม่ต้องการใช้สายคาดหน้าอก ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีนี้เพิ่งเปิดตัว อาจยังมีไม่สมบูรณ์แบบในขั้นต้น รวมถึงราคาที่ค่อนข้างสูง จึงยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก เชื่อว่าในอนาคตหากถูกพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ อาจเป็นอีกทางเลือกนึงของผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวกสบายได้ดีทีเดียว 

เซ็นเซอร์วัดชีพจร – ออกแบบเพื่อใช้คู่กับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth โดยมี Application รองรับการใช้งาน ทำให้ง่ายต่อผู้ใช้ที่มีสมาร์ทโฟนไว้ในครอบครองอยู่แล้ว 

ในอนาคตเราคงได้เห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ถูกคิดค้นและพัฒนาจากหลากหลายแบรนด์ชั้นนำในท้องตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง