Core-Fitnees ขอแนะนำทริคเด็ดๆ 5 ข้อ สำหรับเลือกและพิจารณาลู่วิ่งแบบง่ายๆ พร้อมข้อสรุปให้ได้นำไปตัดสินใจ เพื่อนำไปเลือกซื้อลู่วิ่งให้ถูกใจ เหมาะสมกับการใช้งาน ที่สำคัญคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปที่สุด
1.ลักษณะการใช้งาน
สิ่งแรกก่อนตัดสินใจชื้อลู่วิ่งมาใช้งานให้มีความคุ้มค่า ต้องย้อนมาดู "ลักษณะการใช้งาน" ว่าเราชอบออกกำลังกายเพื่อจุดประสงค์ใด หรือวิ่งเพื่อเป้าหมายอะไร
แบ่งลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ
- ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ = ลู่วิ่งขนาดเล็ก หรือลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีพลังมอเตอร์เทียบเท่า 2 HP
- ฝึกซ้อมวิ่งเพื่อเพิ่มทักษณะ = ลู่วิ่งโค้ง หรือวิ่งลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีพลังมอเตอร์เทียบเท่า 4 HP หรือสูงขึ้นไป
ในปัจจุบันลู่วิ่งมีให้เลือกใช้งานหลากหลายราคา ตั้งแต่ราคาหลักพัน ไปจนถึงหลักแสน ซึ่งราคาไม่ใช่ตัวตัดสินว่าลู่วิ่งรุ่นนั้นๆจะเหมาะกับลักษณะการใช้งาน อยากให้มองว่าเป็นเกรณ์บอกถึงคุณภาพการใช้งานมากกว่า
แนะนำการเลือกใช้งานลู่วิ่ง
- ฝึกซ้อมสำหรับการแข่งขัน : Real Run PRO
- เพิ่มทักษณะการวิ่ง : Real Run
- ฝึกซ้อมวิ่งเทรล & เดินขึ้นเขา : Fit Run
- ฟิตร่างกาย ดูแลสุขภาพ : Flex Pro
- ลดน้ำหนัก : Flex Slim
2.มอเตอร์
"มอเตอร์" ถือเป็นหัวใจหลักของลู่วิ่งไฟฟ้า แหล่งขับเคลื่อนการทำงานของสายพาน ส่งกำลังเพื่อรองรับระดับความเร็ว ซึ่งมีหน่วยเป็น HP หรือแรงม้า (Horsepower) นั้นเอง
2.1 มอเตอร์ 2 รูปแบบ
- AC มอเตอร์ระดับอุตสาหกรรม รองรับใช้งานแบบต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ลักษณะการใช้คงที่ ในรูปแบบยิม หรือ Commercial
- DC มอเตอร์พื้นฐานสำหรับลู่วิ่งใช้งานในรูปแบบ Home-use ได้เปรียบในเรื่องความแม่นยำ และขนาดที่เล็กกว่า AC
2.2 ความแรงมอเตอร์
ระดับของแรงม้าจะเข้ามีส่วนสำคัญในช่วงความเร็วสูงๆตั้งแต่ 8 กม./ชม.ขึ้นไป โดยมอเตอร์จะส่งกำลังได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งในความความเร็ว 1-7 มอเตอร์จะผ่อนแรง และยังไม่ได้ส่งกำลังเต็มที่เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน
- 1-2 แรงม้า สำหรับเดินเพื่อสุขภาพ หรือวิ่งจ้อกกิ้งเบาๆเพื่อลดน้ำหนัก
- 3-6 แรงม้า สำหรับวิ่งออกกำลังกาย หรือลดน้ำหนักอย่างจริงจังในบ้าน หรือคอนโด
- 7 แรงม้าขึ้นไป สำหรับใช้งานยิมฟิตเนส หรือผู้ที่ต้องการฝึกซ้อมวิ่งในรูปแบบนักกีฬามืออาชีพ
2.3 ความเร็ว
เมื่อรู้ถึงเรื่องมอเตอร์และแรงม้าแล้ว ปัจจัยต่อมา คือ "ความเร็ว/ระดับความชัน" ของลู่วิ่ง โดยความแรงมอเตอร์และระดับความเร็วเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน ยิ่งมอเตอร์มีแรงม้าสูงๆ ก็สามารถเลือกปรับระดับความเร็วได้สูงขึ้น ซึ่งบางคนก็ไม่ใช้ความเร็วสูงๆในระดับ 15 ขึ้นไป เนื่องด้วยปลอดภัยและทักษณะในการวิ่ง ดังนั้นควรเลือกลู่วิ่งที่มีระดับความแรงที่ตอบโจทย์การใช้งาน มากกว่าที่จะเลือกลู่วิ่งที่มีระดับความเร็วสูงๆไว้ก่อน
- ความเร็ว 0-6 กม./ชม. เหมาะกับการเดินเร็วๆเพื่อสุขภาพ และลดน้ำหนัก
- ความเร็ว 7-10 กม./ชม. เหมาะกับกาวิ่งพื้นฐาน ไปจนถึงสร้างความแข็งแรง
- ความเร็ว 11 กม./ชม. ขึ้นไป เหมาะกับการวิ่งฝึกซ้อม เพิ่มทักษณะในการแข่งขัน
2.4 ระดับความชัน
ระดับความชันของสายพาน จำลองการเดิน/วิ่งขึ้นเขา เหมาะกับผู้ที่ไม่มีอาการบาดเจ็บ หรือผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักแต่ยังไม่พร้อมกับการวิ่ง ช่วยทำให้ออกแรงเผาผลาญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเหมาะกับรูปแบบการฝึกซ้อมตามรายบุคคล
- ระดับ 1-10 เหมาะกับเดินเพื่อเผาผลาญแคลอรี่
- ระดับ 11 ขึ้นไป เหมาะกับฝึกซ้อมวิ่งขึ้นเขา และการแข่งวิ่งเทรล
2.5 ลู่วิ่งไร้มอเตอร์
สำหรับผู้ที่อยากฝึกซ้อมวิ่งจริงจัง และสนใจลู่วิ่งที่ไม่มีมอเตอร์ไฟฟ้า ขอแนะนำลู่วิ่งสายพานโค้ง หรือ (Curved Treadmill) เพื่อตอบโจทย์การวิ่งในรูปแบบเสมือนจริง โดยไม่ต้องออกไปวิ่งนอกสถานที่ ซึ่งการใช้งานลู่วิ่งแบบไร้มอเตอร์จะแตกต่างกับลู่วิ่งไฟฟ้า ตรงที่ต้องออกแรงวิ่งแบบ 100% สายพานจึงจะขับเคลื่อน เมื่อไหร่ที่เราหยุดวิ่งสายพานจะไม่เคลื่อนต่อ จึงทำให้เราได้รีดพลังงาน หรือสร้างทักษณะได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญความโค้งของสายพานจะช่วยในเรื่องความปลอดภัย และท่าทางในการวิ่งที่สมจริง
3.ขนาด
ขนาดของลู่วิ่งเป็นอีกข้อที่บางคนอาจมองข้ามไป และคิดว่าขอให้วิ่งได้ก็พอแล้ว แต่อย่าลืมว่าความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเราได้ขึ้นไปวิ่งแล้ว ใช้เวลาอยู่กับลู่วิ่งนานราวๆชั่วโมง ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเลือกชื้อลู่วิ่งที่มีขนาดสัมพันธ์กับร่างกาย เพื่อรองรับท่าทาง, ช่วงก้าว และรับน้ำหนักได้อย่างปลอดภัย
ส่วนประกอบของขนาดลู่วิ่งที่ต้องพิจราณเป็นพิเศษ
- พื้นที่สายพาน (พื้นที่วิ่ง) : ต้องมีความยาวเกินกว่าช่วงขาในขณะวิ่ง ไม่เช่นนั้นมีโอกาสที่จะหลุดล้มออกจากลู่วิ่งและเกิดอันตราย
- พื้นที่พักเท้า : ต้องมีขนาดกว้างพอเหมาะกับฝ่าเท้า หรือวางเท้าแล้วรู้สึกมั่นคง เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน สามารถนำเท้ามาวางเพื่อหยุดพัก หรือเริ่ม/เสร็จกิจกรรมได้ปลอดภัย
- เสาลู่วิ่ง (บริเวณราบจับด้านข้าง หรือ เสารองรับแผงคอนโซล) ต้องมีความแข็งแรงสอดคล้องกับสรีระผู้ใช้งาน ยิ่งมีความหนา ความใหญ่ หรือวัสดุที่มีคุณภาพ ยิ่งดีต่อผู้ใช้งาน
- รองรับน้ำหนักตัว ข้อนี้เป็นส่วนสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดลู่วิ่ง เพราะต้องใช้น้ำหนักของผู้ใช้งานเป็นตัวกำหนด ควรเลือกลู่วิ่งที่รองรับน้ำหนักตัวที่มากกว่าน้ำหนักจริง 10 กิโลกรัมขึ้นไป เพื่อความมั่นคงต่อการใช้งานระยะยาว
4.ความปลอดภัย
เมื่อเรารู้ส่วนต่างๆของลู่วิ่งที่ต้องพิจราณาแล้ว คราวนี้มาดูที่ระบบความปลอดภัยของลู่วิ่งกันบ้าง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพเข่า ข้อเท้า และผู้ที่มีอาการบาดเจ็บมากก่อน
"ระบบรับแรงกระแทก" เป็นพื้นฐานที่ลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีคุณภาพต้องมี ดังนั้นจะรู้ได้เลยว่าลู่วิ่งไหนมีคุณภาพ และสามารถใช้งานได้ในระยะยาว ซึ่งแต่ล่ะแบรนด์ก็มีเทคโนโลยี หรือระบบรับแรงกระแทกที่แตกต่างกันออกไป โดยพื้นฐานให้มองหาลู่วิ่งที่มีระบบโช้ค หรือแผ่นซับแรง เพื่อช่วยซึบซับแรงกระแทกโดยตรง และเพิ่มความยืดหยุ่นทำให้เดิน/วิ่งได้อย่างนิ่มนวล ไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บในอนาคต
5.พื้นจัดวาง
เชื่อได้เลยว่าบางคนต้องถามหาลู่วิ่งที่พับเก็บได้ หรือตั้งแอบในมุมห้อง ซึ่งลู่วิ่งที่สามารถทำได้ในลักษณะนั้นต้องเป็นลู่วิ่งในขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลางเท่านั้น ซึ่งจะสู้กับลู่วิ่งขนาดใหญ่ในรูปแบบ Commercial ที่ใช้ในยิมฟิตเนส หรือลู่วิ่งแบบนักกีฬาไม่ได้ เพราะยิ่งถ้าต้องการประสิทธิภาพสูงๆ โครงสร้างที่มั่นคง ต้องยอมรับในเรื่องพื้นฐานจัดวาง ที่ต้องตั้งวางไว้เท่านั้น โดยไม่ต้องสามารถพับเก็บ หรือเคลื่อนย้ายบ่อยๆ
สรุป
อยากให้เพื่อนๆมองการเลือกลู่วิ่งที่นำมาใช้งานในรูปแบบระยะยาวมากกว่า อย่าคิดว่าเลือกลู่วิ่งราคาถูกมาใช้ไปก่อน เพราะเมื่อคิดแบบนั้นอาจจะทำให้ไม่ประทับใจและไม่อยากวิ่งอีกต่อไป จึงอยากให้ลองนำข้อแนะนำทั้ง 5 ข้อนี้ค่อยๆเลือกหาลู่วิ่งที่เหมาะสม เชื่อว่าจะทำให้การขึ้นอยู่บนลู่วิ่งทุกครั้งมีความสุขจนอยากวิ่งทุกๆวัน