แนะนำการใช้งานนาฬิกาออกกำลังกายเบื้องต้น ฉบับสำหรับมือใหม่เร่งด่วนพร้อมใช้งาน
สำหรับผู้ใช้งานที่ซื้อนาฬิกาออกกำลังกายหรือสายรัดข้อมือสุขภาพไปแล้ว ไม่ทราบถึงการใช้งานเบื้องต้น
วันนี้ Tsmactive มีคำแนะนำอย่างง่ายๆ สรุปเป็นข้อๆเพื่อเป็นข้อมูลนำไปใช้คู่กับการแกะกล่องเริ่มใช้งานกัน
เปิดกล่องแล้วทำยังไงต่อ ?
- มองหาคู่มือการใช้งาน : ศึกษาปุ่มกด ซึ่งปุ่มกดการใช้งานในแต่ละรุ่นแตกต่างกัน ซึ่งพื้นฐานแล้วมี ปุ่มโฮม / ย้อนกลับ / ขึ้นลง
- เก็บสาย Usb ไว้ดีๆ : สำคัญมาก เพราะการใช้งานครั้งแรกแบตเตอรี่ในตัวนาฬิกาบางรุ่นเป็น 0% หรือแบตเตอรี่อ่อน ควรชาร์จก่อนการใช้งาน
- ชาร์จไฟให้เพียงพอ : สาย Usb รองรับการเสียบกับอะแดปเตอร์สมาร์ทโฟน หรือ จะเสียบเข้าช่อง Usb คอมพิวเตอร์ ชาร์จอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง
เริ่มการใช้งานกัน
1.ควรโหลดแอพจากแบรนด์ผู้ผลิตโดยตรงได้เลยโดยนำชื่อแอพไปค้นหาใน App Store หรือ Google Play ได้เลย
- Garmin โหลดแอพ Garmin Connect
- Polar โหลดแอพ Polar Flow
- Mio โหลดแอพ Mio Go
- Fitbit โหลดแอพ Fitbit
- TomTom โหลดแอพ TomTom My Sports
- Suunto โหลดแอพ Movescount
- Adidas โหลดแอพ Adidas Train & Run
เมื่อโหลดแอพมาแล้ว ต้อง สมัคร Account เพื่อเข้าการใช้งาน
2. เปิดใช้งานครั้งแรก ควรใส่ปริมาณ น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ เพศ ภาษา และหน่วยวัดระยะทาง
แนะนำให้ใส่ข้อมูลจริงไปได้เลย หรือถ้าใส่ผิดในครั้งแรก สามารถเข้าไปแก้ไขในโหมด Setting ของนาฬิกาภายหลังได้
3. เชื่อมต่อนาฬิกากับสมาร์ทโฟนให้รู้จักกัน
สำคัญมาก !! การเชื่อมต่อควรเช็คให้แน่ใจว่าเปิด Bluetooth ทั้ง 2 ฝ่าย สมาร์ทโฟนและนาฬิกา
ในสมาร์ทโฟน เข้าไปเปิดที่ Bluetooth เพื่อการค้นหานาฬิกา
ในนาฬิกา เข้าไปโหมด Setting หาหัวข้อ Bluetooth ทำการเปิด On หรือ Pair สำหรับบางรุ่น
3.1 วิธีการเชื่อมต่อ
เปิด Bluetooth ให้พร้อมแล้วแล้ว กด Connect เข้าแอพ รอสักครู่ สมาร์ทโฟนจะทำการค้นหาและให้เราทำการจับคู่
ในครั้งแรกควรทำการจับคู่ให้พบเจอก่อน ส่วนใหญ่ต้องนำตัวเลขรหัสที่แสดงผลมาใส่ในสมาร์ทโฟนเพื่อยืนยัน
เพราะถ้าไม่มีการยืนยันการ Pair นาฬิกาบางรุ่นจะไม่ยอมให้เชื่อมต่อ เท่ากับเชื่อมต่อไม่สำเร็จ
อีกวิธีสำหรับนาฬิกาบางรุ่น เหมือนเดิมต้องเปิด Bluetooth ในสมาร์ทโฟนและนาฬิกาก่อน
โดยเข้าไปที่แอพ หาหัวข้อ Setting ( add หรือ + ) เพื่อเชื่อมต่อ โดยทำตามคำแนะนำของแอพนั่นๆ
( ชม Microsoft Brand 2 )
3.2 ในการซิงค์ข้อมูลควรซิงค์ข้อมูลอย่างน้อยวันล่ะ 1 ครั้ง ถ้าไปได้ควรเชื่อมต่อตลอดเวลาขณะออกกำลังกาย
ถ้าต้องการดูแบบ Real-Time แนะนำอย่างยิ่ง
3.3 ถ้าเกิดการผิดพลาด เชื่อมต่อไม่ได้ทำยังไง ?
แนะนำให้ลองปิดหรือรีเซ็ตนาฬิกา และที่สมาร์ทโฟน ปิดและเปิด Bluetooth ใหม่อีกรอบ
การรีเซ็ตมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแบรนด์ ยกตัวอย่าง บทความ Restart Fitbit
https://help.fitbit.com/articles/en_US/Help_article/1186
4. เชื่อมต่อได้แล้วใช้แอพยังไง ?
ในครั้งแรกการใช้งานแอพ ยังไม่มีข้อมูลของการออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่ทำ
4.1 หน้าที่หลักของแอพ คือเก็บประวัติ ระยะทาง นับก้าว แคลเลอรี่ การนอน ซึ่งสามารถกลับมาดูย้อนหลังได้
และนาฬิกาที่มีฟังก์ชั่น GPS ก็สามารถติดตามแผนที่ที่เราออกกำลังกายได้ วิ่งที่ไหนเส้นไหนก็เห็นได้หมด
ที่สำคัญสามารถแชร์การออกกำลังกายของคุณผ่านแอพสู่โซเชียลได้
4.2 เพิ่ม-ลบ โหมดกีฬาและการออกกำลังกาย นาฬิกาบางรุ่นรองรับการออกกำลังกายได้ถึง 80 กิจกรรมอย่างเช่น นาฬิกามัลติสปอร์ต
สามารถเลือกโหมดการออกกำลังกายเพื่อเป็นเมนูลัดสู่นาฬิกาให้พร้อมกับการออกกำลังกาย
5. ใช้แอพพอได้แล้ว นาฬิกาล่ะยังไงต่อ ?
การใช้งานหลักๆของนาฬิกาออกกำลังกายมี 2 โหมดคือ
โหมดหน้าปัดปกติ : ใช้ดูเวลา การนับก้าว แคลลอรี่ ชีพจร โดยสัมผัส หรือ เลื่อนเพื่อการแสดงผล
โหมดออกกำลังกาย : เป็นโหมดก่อนเริ่มออกกำลังกาย โดยให้เลือกให้เข้ากับกีฬาที่เราเล่นอยู่ในขณะนั่น นาฬิกาจะเริ่มติดตามสถิติ
ส่วนการติดตามการนอนหลับ สำหรับรุ่นที่ติดตามการนอนหลับอัตโนมัติ เช่น Fitbit Polar Garmin
เพียงสวมใส่นาฬิกาขณะนอนหลับ นาฬิกาจะติดตามการนอนหลับตลอดจนถึงตื่นนอน พร้อมบอกสถิติการพลิกตัว การหลับไม่สนิท พร้อมสรุปผล
6. การสวมใส่ วิธีการเก็บรักษา
ถ้าต้องการวัดชีพจรที่แม่นยำ ควรใส่ให้แน่นกระชับกับข้อมือ โดยตำแหน่งการสวมใส่ควรเลื่อนจากข้อมือเล็กน้อย
หลังจาการออกกำลังกายทุกครั้ง ควรนำมาเช็คทำความสะอาดคาบเหงื่อใต้ตัวเรือน เพื่อยืดอายุการใช้งาน
ผ่านไปกับการสรุปการใช้งานสำหรับมือใหม่อย่างเร่งด่วน หวังว่าจะช่วยให้การเริ่มใช้นาฬิกาออกกำลังกายเป็นไปอย่างง่าย
สำหรับผู้ที่อยากเริ่มใช้นาฬิกาออกกำลังกายบอกไว้เลย ไม่ได้ยากอย่างที่คุณคิด เพียงแค่เข้าใจการใช้งานเบื้องต้น
ก็สามารถนำไปใช้กับกีฬาโปรดได้แล้ว ติดตามวัดผลลัพธ์ได้จริง อีกข้อนึ่งยังเพิ่มแรงจูงใจให้การออกกำลังกายสนุกอีกด้วย