เทคนิคการเลือกซื้อนาฬิกาออกกำลังกายยังไงให้คุ้มค่าที่สุด

นาฬิกาออกกำลังกายเริ่มมีบทบาทสำคัญในกลุ่มคนออกกำลังกายโดยสวมใส่กันอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติที่ตอบสนองการติดตามสุขภาพในด้านชีวิตประจำวันและกีฬาที่ครอบคลุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้จะทำให้คุณมั่นว่าได้เลือกใช้งานนาฬิกาที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด เพื่อใช้งานได้อย่างคุ้มค่าและตรงตามเป้าหมายในการพัฒนาสุขภาพโดยได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนจากร่างกายตัวคุณเอง

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจปัจจัยหลักในการเลือกใช้งานนาฬิกาออกกำลังกาย
1. เป้าหมายของการออกกำลังกายและกิจกรรม

เชื่อได้ว่าผู้ที่สนใจนาฬิกาออกกำลังกายต้องมีกีฬาที่ชอบอยู่ในใจอยู่แล้ว ซึ่งในนาฬิกาออกกำลังกายแต่ละรุ่นจะมีโหมดออกกำลังกายให้ได้เลือกใช้
จึงควรเลือกชนิดของกีฬาเป็นอันดับแรกในการเลือกตัดสินใจเพื่อนำไปใช้ถูกกับเป้าหมายและการใช้งานที่คุ้มค่า

ประเภทของของกิจกรรม/กีฬาหลักๆ มีดังนี้

1.1 ออกกำลังกายในฟิตเนส : วัดคุณสมบัติของร่างกายเพื่อพัฒนาตามเป้าหมาย
1.2 วัดระดับสุขภาพ : วัดผลสุขภาพเพื่อความเปลี่ยนแปลง
1.3 วิ่งหรือปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ : ประเมินคุณภาพเพื่อการพัฒนาของร่างกาย
1.4 วิ่งเทรล / วิ่งมาราธอน / ปั่นจักรยาน : เพิ่มประสิทธิการติดตามที่ละเอียด
1.6 ว่ายน้ำ : โหมดที่ติดตามเฉพาะด้านเพื่อวัดผล
1.7 ไตรกีฬา : รองรับโหมด วิ่ง,ปั่นจักรยาน,ว่ายน้ำ เข้าด้วยกัน


2. ประเภทและลักษณะการใช้งานของนาฬิกาออกกำลังกาย

ค่าชีพจรกลายเป็นหนึ่งคุณสมบัติที่คนออกกำลังกายต้องการใช้งานเพื่อวัดระดับความเหนื่อยล้า ที่แสดงผลให้รู้ได้ทันทีขณะออกกำลังกาย
การวัดอัตราการเต้นของใจจากนาฬิกายออกกำลังกายแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

✔ นาฬิกาออกกำลังกายที่วัดชีพจรจากข้อมือโดยตรง
เทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนใช้นาฬิกาออกกำลังกายสำหรับการติดตามชีพจรได้สะดวก

และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้งานได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงที่สุด
ซึ่งในขณะนี้เซนเซอร์วัดชีพจรเริ่มมีความเสถียรใกล้เคียงกับสายคาดอกยิ่งขึ้นทุกวัน


ข้อดี

  • สะดวกต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันและการออกกำลังกาย
  • เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อความแม่นยำ

ข้อเสีย

  • วัดชีพจรในน้ำยังไม่เสถียรเท่าที่ควร
  • ใช้พลังงานแบตเตอรี่ที่มากกว่า

✔ นาฬิกาออกกำลังกายที่ต้องใช้สายคาดอกเพื่อวัดชีพจร
เป็นนาฬิกาออกกำลังกายที่ต้องใช้ควบคู่กับสายคาดอกในการส่งสัญานชีพจร ซึ่งในปัจจุบันยังได้รับความนิยมอยู่พอสมควรในหมู่นักกีฬา

ข้อดี

  • การส่งสัญญานมีคามคลาดเคลื่อนน้อยกว่าเซนเซอร์ในนาฬิกาออกกำลังกาย
  • สามารถวัดชีพจรในน้ำได้แม่นยำ

ข้อเสีย

  • ไม่สามารถใส่ได้ต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน
  • การเลื่อนของสายในขณะออกกำลังกาย
  • สายคาดอกไม่รองรับกับนาฬิกาออกกำลังกายบางรุ่น
  •  

3. ลักษณะการทำงานของนาฬิกาออกกำลังกายเพื่อประโยชน์ของการใช้งานสูงสุด
ลักษณะการทำงานของนาฬิกาออกกำลังกาย

การติดตามกิจกรรมทั่วไปของนาฬิกาออกกำลังกาย จะเริ่มต้นนับใหม่ในทุกๆเที่ยงคืนเพื่อเริ่มต้นติดตามในวันใหม่ ในระหว่างวันนาฬิกาออกกำลังกายจะคอยติดตามการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด
โดยข้อมูลเหล่านั่นจะถูกบันทึกลงนาฬิกาก่อนและโอนถ่ายมาบันทึกในสมาร์ทโฟนผ่านแอพพลิเคชั่นจากแบรนด์นั่นๆ เพื่อดูข้อมูลย้อนหลังที่ละเอียดพร้อมนำมาพัฒนาได้ง่าย

ข้อมูลทั่วไปที่แสดงผลมีอะไรบ้าง ?

  • จำนวนก้าวเดินติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกายในชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมโดยติดตามแบบอัตโนมัติ
  • จำนวนแคลอรี่ : อ้างอิงจากผู้สวมใส่ อายุ / เพศ / ส่วนสูง-น้ำหนัก และการเคลื่อนไหว มาคำนวณเป็นแคลอรี่
  • ค่าชีพจร : วัดระดับค่าชีพจรหรืออัตราเต้นของหัวใจเพื่อรู้ถึงความหนักเบาของร่างกาย
  • ติดตามการนอนหลับ : ตรวจจับการเคลื่อนไหวเชิงลึก รู้ถึงเวลานอนหลับ , เวลาหลับสนิท , เวลาตื่น โดยแสดงอย่างละเอียดในแอพพลิเคชั่น
  • โหมดออกกำลังกาย : ติดตามการออกกำลังกาย/กีฬา บันทึกผลแยกจากการติดตามกิจกรรมประจำวัน โดยตัวเราเองเป็นคนกำหนดในการเริ่มต้นบันทึก

4. ข้อมูลที่ควรได้รับจากนาฬิกาออกกำลังกาย
การแสดงผลข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญแต่ไม่จำเป็นที่เราต้องการเลือกนาฬิกาออกกำลังกายที่ให้ข้อมูลทั้งหมดที่เกินความเป็นจำเป็น
ดังนั้นเราควรรู้ถึงข้อมูลที่จำเป็นกับตัวเราเพื่อให้เหมาะกับประเภทกีฬา

4.1 แสดงการเผาผาญของร่างกายหน่วยวัดเป็นกิโลแคลอรี่
4.2 แสดงข้อมูลก้าวเดิน / ระยะทางเดิน / จำนวนขึ้นชั้นบันได
4.3 แสดงค่าอัตราการเต้นของหัวใจ
4.4 โหมดออกกำลังกายตรงตามประเภทกีฬา
4.5 ติดตามเส้นทางการออกกำลังกายเพื่อบันทึกตำแหน่งสำหรับดูเส้นทางย้อนหลัง (GPS)
4.6 แสดงเวลาและคุณภาพการนอนหลับ

 

 

5. ฟังก์ชั่นเสริมที่ควรมี

  • การแจ้งเตือน : ระบบการแจ้งเตือนของจากสมาร์ทโฟนที่ต้องอาศัยการเชื่อมต่อบลูทูธกับสมาร์ทโฟน เพื่อไม่พลาดการติดต่อขณะออกกำลังกาย
  • การเชื่อมต่อ : สำหรับการวัดผลประเภทอื่นๆที่ต้องใช้อุปกรณ์โดยเฉพาะ อุปกรณ์เหล่านั้นมี 2 ระบบ ANT + และ Bluetooth ซึ่งขึ้นอยู่กับแบรนด์นั่นๆเป็นผู้กำหนด
  • การควบคุม : การควมคุมเพลงจากนาฬิกาออกกำลังกายกับสมาร์ทโฟน หรือ การบันทึกเพลงลงนาฬิกาออกกำลังกาย ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นที่เริ่มมีให้ใช้กันแล้ว

 

6. ประโยชน์จากการใช้งาน

  • กระตุ้นเสริมเรงจูงใจของการออกกำลังกายโดยได้ข้อมูลที่แท้จริง
  • รู้ถึงความหนัก-เบาของการออกกำลังกาย อ้างอิงจากสถิติโดยบุคคลที่ส่วมใส่
  • ติดตามข้อมูลพร้อมสถิติได้ย้อนหลังเพื่อเปรียบเทียบและนำไปพัฒนา
  • วัดคุณภาพสุขภาพ ช่วยเพิ่มขีดกำจัดของร่างกายและเสริมสร้างสุขภาพที่ดี

จำแนกตามประเภทกีฬา/กิจกรรม พร้อมคำแนะนำที่เหมาะสม

 

เมื่อเข้าใจถึงการทำงานของนาฬิกาออกกำลังกายแล้ว ขั้นตอนสำคัญที่สุดต้องรู้ถึงข้อมูลและประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งานร่วมกับกีฬาด้วย
1. นาฬิกาออกกำลังกายสำหรับออกกำลังในฟิตเนส

ลักษณะของนาฬิกาออกกำลังกายที่คุ้มค่า
✔  ควรมีเซนเซอร์วัดชีพจรในตัวเรือนเพิ่มความสะดวกในการสวมใส่
✔  ไม่จำเป็นต้องใช้รุ่นที่มี GPS ในการติดตามเส้นทางใน Indoor
✔  ควรมีโหมดกีฬา Indoor รองรับอุปกรณ์ฟิตเนส ลู่วิ่ง / จักรยานไฟฟ้า


ข้อมูลที่ควรได้รับจากนาฬิกาออกกำลังกาย
✔  การคำนวญแคลอรี่ที่เผาผาญ
✔  ค่าชีพจรที่แสดงผลแบบ Real-Time
✔  วิเคราะห์การนอนหลับ


ประโยชน์จากการใช้งาน
✔  
วัดผลการออกกำลังกาย
✔  รู้ถึงความหนักเบาของการใช้พลังงาน
✔  ติดตามการเผาผาญแคลอรี่อย่างต่อเนื่อง



2. นาฬิกาออกกำลังกายสำหรับวัดระดับสุขภาพ

ลักษณะขงนาฬิกาออกกำลังกายที่คุ้มค่า
✔  ควรมีการติดตาม นับก้าว , ติดตามแคลอรี่ , วัดคุณภาพการนอนหลับ
✔  ควรมีเซนเซอร์วัดชีพจร (ถ้าต้องการใช้ร่วมกับกีฬา)
✔  หรือไม่ควรมีเซนเซอร์วัดชีพจร (ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น)
✔  ไม่จำเป็นต้องใช้รุ่นที่มี GPS ในการติดตามเส้นทาง

ข้อมูลที่ควรได้รับจากนาฬิกาออกกำลังกาย
✔  การสรุปผลกิจกรรมประจำวัน
✔  การคำนวญแคลอรี่ที่เผาผาญ

✔  วิเคราะห์การนอนหลับ

ประโยชน์จากการใช้งาน
✔  รู้ถึงความหนักเบาของการใช้พลังงาน
✔  วัดคุณภาพการทำงานของร่างกายได้ต่อเนื่อง
✔  ติดตามการเผาผาญแคลอรี่อย่างต่อเนื่อง

 

3. นาฬิกาออกกำลังกายสำหรับวิ่งหรือปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ

ลักษณะของนาฬิกาออกกำลังกายที่คุ้มค่า
✔  ควรมีเซนเซอร์วัดชีพจรเพื่อการติดตามวิเคราะห์ที่แม่นยำ
✔  ควรมีการติดตาม นับก้าว , ติดตามแคลอรี่ , วัดคุณภาพการนอนหลับ
✔  ควรมี GPS ในการติดตามเส้นทางและวัดระยะความเร็ว

ข้อมูลที่ควรได้รับจากนาฬิกาออกกำลังกาย
✔  การคำนวณความเร็ว , ระยะทาง , ระยะเวลา
✔  การสรุปของการออกกำลังกายที่แสดงอย่างละเอียด

ประโยชน์จากการใช้งาน
✔  รู้ถึงความหนักเบาของการใช้พลังงาน
✔  วัดคุณภาพการทำงานของร่างกายได้ต่อเนื่อง
✔  การติดตามการเผาผาญแคลอรี่ที่ร่างกายเผาผาญ

4. นาฬิกาออกกำลังกายสำหรับวิ่งเทรล / วิ่งมาราธอน / ปั่นจักรยาน

ลักษณะของนาฬิกาออกกำลังกายที่คุ้มค่า

✔  ควรมีเซนเซอร์วัดชีพจรในตัวเรือนเพิ่มความสะดวกในการสวมใส่
✔  ถ้าต้องการความแม่นยำในติดตามชีพจรอย่างต่อเนื่อง (ควรใช้สายคาดอกวัดชีพจร)
✔  ควรมี GPS ในการติดตามเส้นทางและวัดระยะความเร็ว
✔  ควรมีฟังก์ชั่นและโหมดกีฬา Outdoor รองรับ เช่น เข็มทิศ , วัดอุณหภูมิ
✔  ควรมีฟังก์ชั่น Navigation สำหรับตั้งโปรแกรมฝึกด้วยเส้นทางและการนำทางสำหรับวิ่งเทรลที่มีเส้นทางซับซ้อน


ข้อมูลที่ควรได้รับจากนาฬิกาออกกำลังกาย
✔ การคำนวณความเร็ว , ระยะทาง , ระยะเวลา, อัตราเฉลี่ยที่ละเอียด
✔ การแสดงผลเส้นทางตามโปรแกรม
✔ การสรุปของการออกกำลังกายที่แสดงอย่างละเอียด

✔ การวิเคราะห์ช่วงเวลาที่ควรพัก


ประโยชน์จากการใช้งาน
✔ วัดผลการออกกำลังกายเพื่อการพัฒนาเกิดขีดจำกัด
✔ รู้ถึงความหนักเบาของการใช้พลังงาน
✔ การวิเคราะห์และสรุปผลที่ลงลึกรู้ถึงความสามารถของร่างกาย

✔ ได้รับข้อมูลเส้นทางที่มีประสิทธิภาพตรงตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

 

5. นาฬิกาออกกำลังกายสำหรับว่ายน้ำ

ลักษณะของนาฬิกาออกกำลังกายที่คุ้มค่า
✔  ถ้าต้องการแม่นยำในการส่งสัญญานค่าชีพจร (ควรใช้คู่กับสายคาดอก) 
✔  มีหรือไม่เซนเซอร์วัดชีพจรก็ได้ (ถ้าต้องการใช้เล่นกีฬาอื่น)
✔  ควรมีค่ามาตรฐานกันน้ำตั้งแต่ 50 เมตรขึ้นไป
✔  ควรมีโหมดว่ายน้ำโดยเฉพาะ

ข้อมูลที่ควรได้รับจากนาฬิกาออกกำลังกาย
✔  การคำนวณขนาดของสระเพื่อคำนวณรอบ , การวัด Stroke , บอกรูปแบบการ Stroke , การจับเวลาการฝึกซ้อม
✔  การแสดงผลเส้นทางตามโปรแกรม
✔  การวิเคราะห์ช่วงเวลาที่ควรพัก


ประโยชน์จากการใช้งาน
✔  วัดประสิทธิภาพการว่ายน้ำได้จริง 
✔  ได้ข้อมูลที่เฉพาะทางเพื่อการพัฒนาการฝึกซ้อม
✔  พัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มขีดจำกัดของการว่าน้ำ


6. นาฬิกาออกกำลังกายสำหรับไตรกีฬา (วิ่ง/ปั่นจักรยาน/ว่ายน้ำ)


ลักษณะของนาฬิกาออกกำลังกายที่คุ้มค่า
✔  ควรมีโหมดการสลับประเภทกีฬารองรับ เพื่อการใช้งานที่ต่อเนื่อง
✔  ควรมีค่ามาตรฐานกันน้ำตั้งแต่ 50 เมตรขึ้นไป
✔  ควรมีเซนเซอร์วัดชีพจรในตัวเรือนเพิ่มความสะดวกในการสวมใส่
✔  ถ้าต้องการความแม่นยำในติดตามชีพจรอย่างต่อเนื่องและสำหรับว่ายน้ำ (ควรใช้สายคาดอกวัดชีพจร)
✔  ควร GPS ในการติดตามเส้นทางและวัดระยะความเร็ว
✔  ควรมีฟังก์ชั่นและโหมดกีฬา Outdoor รองรับ เช่น เข็มทิศ , วัดอุณหภูมิ
✔  ควรมีฟังกชั่นการติดตามผลของร่างกายและสรีระ เช่น VO2MAX (เช็คความฟิตของร่างกาย) 
✔  ควรมีฟังก์ชั่น Navigation สำหรับตั้งโปรแกรมเส้นทางและการนำทางสำหรับวิ่งเทรลที่มีเส้นทางซับซ้อน


ข้อมูลที่ควรได้รับจากนาฬิกาออกกำลังกาย
✔  การคำนวณความเร็ว , ระยะทาง , ระยะเวลา, อัตราเฉลี่ยที่ละเอียด
✔  การติดตามและบันทึกเส้นทางผ่าน GPS 

✔  การแสดงผลเส้นทางตามโปรแกรม
✔  การวิเคราะห์ช่วงเวลาที่ควรพัก


ประโยชน์จากการใช้งาน
✔  ติดตามกีฬา 3 ประเภทได้ต่อเนื่องไม่ขาดตอนกับการออกกำลังกายแบบไตรกีฬา
✔  วัดผลการออกกำลังกายเพื่อการพัฒนาเกิดขีดจำกัด
✔  รู้ถึงความหนักเบาของการใช้พลังงาน
✔  การวิเคราะห์และสรุปผลที่ลงลึกรู้ถึงความสามารถของร่างกาย

✔  ได้รับข้อมูลเส้นทางที่มีประสิทธิภาพตรงตามโปรแกรมที่กำหนดไว้

จบไปแล้วกับการแนะนำวิธีเลือกใช้นาฬิกาออกกำลังกายเพื่อตรงตามเป้าหมายสำหรับเป็นแนวทางเริ่มต้นสำหรับ
ผู้ที่กำลังมองหานาฬิกาที่ทำหน้าที่แทนตัวเราเองช่วยติดตามและวิเคราะห์สุขภาพของร่างกายที่ใกล้ชิดที่สุด
ทาง Tsmactive ได้มองเห็นความสำคัญต่อผู้ใช้งานเพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่ดีสุดพร้อมทั้งสามารถรับคำแนะนำจากเราได้

นึกถึงนาฬิกาออกกำลังกายครบที่สุดต้อง Tsmactive.com พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยทำให้คุณเข้าใจยิ่งขึ้น