มารู้จัก REM และ Non-REM Sleep กันดีกว่า มีผลอย่างไรต่อการนอนหลับของเราบ้าง?

หลายๆสิ่งในร่างกายเกิดขึ้นกับตัวเราขณะหลับ เมื่อใดก็ตามที่เราหลับร่างกายจะเข้าสู่วงจรที่เรียกว่า  Non-REM Sleep และ REM 

REM ย่อมาจาก rapid eye movement หากร่างกายเข้าสู่โหมด REM Sleep เมื่อไหร่ ดวงตาของเราจะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในทิศทางต่างกันไป 

Non-REM Sleep 

แบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ซึ่งแต่ละช่วงนั้นจะใช้เวลาประมาณ 5-15 นาทีแล้วแต่บุคคล

ช่วงที่ 1 เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนจากจังหวะตื่นเป็นการนอนหลับ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ช่วงนี้หากมีใครมาปลุกเราจะตื่นง่ายมากๆ 

ช่วงที่ 2 ร่างกายเข้าสู่โหมดหลับตื้น ชีพจรในช่วงนี้จะเต้นช้าลงและอุณหภูมิร่างกายดรอปลง เตรียมตัวเข้าสู่โหมดหลับลึก

ช่วงที่ 3 ช่วงนี้เป็นช่วงที่ร่างกายหลับลึก เป็นช่วงที่จะตื่นยากหน่อยหากมีใครมาปลุก และตัวเราจะรู้สึกงัวเงีย
ระหว่างที่เราอยู่ในโหมด Non-REM Sleep ร่างกายจะใช้ช่วงเวลานี้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
และเมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายเราจะหลับลึกได้ยากขึ้น

REM Sleep 

เกิดขึ้นประมาณ​ 90 นาที หลังจากที่เรานอนหลับ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกจะใช้เวลาประมาณ 10 นาที ช่วงที่สองจะใช้เวลานานขึ้น ช่วงที่สามจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงหรือมากกว่า โดยเมื่อร่างกายเข้าสู่โหมด REM Sleep ชีพจรและการหายใจจะเร็วขึ้น การฝันจะเกิดในช่วงนี้ และสมองจะทำงานมากขึ้นไม่น้อยไปกว่าตอนที่เรากำลังตื่น 

  • เด็กจะใช้เวลา 50% ที่อยู่ในโหมด REM Sleep
  • ผู้ใหญ่ใช้เวลา 20% ที่อยู่ในโหมด REM Sleep



การนอนหลับแบบมีคุณภาพนั้นนอกจากต้องนอนให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมงแล้ว เรายังต้องรู้สึกสดชื่นทุกครั้งที่ตื่นนอนด้วย เพราะถ้าเรารู้สึกง่วงนอนหลังตื่นนอน แม้ว่านอนหลายชั่วโมงแล้วก็ตาม แปลว่าการนอนหลับนั้นขาดคุณภาพ